เจ้าสาวเทเจ้าบ่าวกลางงาน  เมื่อวันที่ 20 เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564  เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับหญิงสาวรายหนึ่ง ซึ่งเธอเป็นชาวยิปซี โดยหญิงสาวรายนี้มีชื่อว่า ซีเรีย  ตามรายงานข่าวระบุว่า หญิงสาวรายนี้อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยเธออาศัยอยู่ในเมืองอัลเบอร์ดีน รัฐแมรี่แลนด์ 

       สิ่งที่ทำให้ ซีเรีย กลายเป็นคนดังในข่าว เพราะว่าเรื่องราวของเธอที่มีการนำเผยแพร่ เกี่ยวกับเรื่องราวความรักของเธอที่เธอระบุว่ามันคือความทรงอันเลวร้ายอย่างหนึ่งในชีวิตขอฌธอ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อตอนที่เธออายุ 24 ปี และเธอได้รัดินใจแต่งงานกับแฟนหนุ่มของเธอที่ชื่อว่า แซม โดยทั้งคู่คบกันมานานหลายปีแล้ว 

    อย่างไรก็ตาม จากที่งานแต่งงานที่เจ้าสาวทั้งหลายไฝ่ฝันถึง จะว่าสวยงาม หรูหรา เป็นที่กล่าวขวัญถึงและเป็นที่อิจฉาสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับซีเรียแล้ว ไม่ใช่แม้แต่นิดเดียว เพราะในวันแต่งงานของเธอนั้นเธอต้องมาเจอกับเรื่องราวที่มันทำให้เธอต้องโกรธจัดจนในที่สุด เธอก็ตัดสินใจล้มการแต่งงานของเธอ และหนีเจ้าบ่าวออกจากงานทั้งที่การจัดงานแต่งงานนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์

        ซีเรีย ได้กล่าวว่า ในช่วงที่เธอได้เดินทางไปถึงสถานที่ในการจัดงานนั้น เธอได้พบว่าเจ้าบ่าวของเธอนั้นได้กินเหล้าเข้าไปเป็นจำนวนมาก และแทบจะไม่สามารถรับรู้เรื่องราวอะไรได้ เจ้าบ่าวของซีเรียเมามาก และแทบจะยืนไม่อยู่ แถมพูดคุยก็แทบจะไม่รู้เรื่อง ตามร่างกายของเจ้าบ่างมีแต่กลิ่นเหล้าคลุ้งไปหมด โดยซีเรียเล่าว่าตอนที่ทำพิธีสวมแหวน เจ้าบ่าวก็ทำแหวนตกพื้น  พอถึงตอนที่จะตัดเค้กและต้องคุยกับแขกที่มาร่วมงานก็พูดไม่รู้เรื่องทำให้เธออับอายมาก

         ในที่สุด ซีเรีย ก็ทนความอับอายไม่ไหว เธอได้เอาเค้กแต่งงานปาใส่หน้าเจ้าบ่าวของเธอและวิ่งออกมาจากงานแต่งงาน ท่ามกลางแขกที่มาร่วมงานแต่งงานของเธอ อย่างไรก็ตามเธอไม่ได้ออกมาจากงานแต่งานเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะภายในงานมีแฟนเก่าของซีเรียมาร่วมงานด้วย และเมื่อเขาเห็นการกระทำของเจ้าบ่าว และการที่เจ้าสาววิ่งออกมาจากงานแต่งของตัวเอง ก็ทำให้แฟนเก่าของซีเรีย เข้ามาพูดคุยกับเธอ และบอกเธอว่าเขายังคงรักเธออยู่และไม่สามารถลืมเธอได้ และนั่นทำให้ ซีเรีย ตัดสินใจออกมาจากงานแต่งของตัวเองพร้อมกับแฟนเก่า และไม่เพียงแค่พากันวิ่งออกมาจากงานแต่งเท่านั้น แต่ทั้งคู่ยังจูบกันให้เจ้าบ่าวและแขกที่มาร่วมงานแต่งเห็นอีกด้วย ทำให้การแต่งงานในครั้งนี้จบไม่สวย และกลายเป็นข่าวดังทันที

          เครื่องทรงพระแก้วมรกต จากการรายงานข่าวประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562  ของของสำนักข่าวสปริงนิวส์ ว่าวันนี้เมื่อเวลา 17.32 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา  ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังอุโบสถวัดพระแก้วเพื่อเปลี่ยนเครื่องทรงให้พระแก้วมรกต

จากเดิมใส่เครื่องทรงของฤดูฝน ให้เปลี่ยนเป็นเครื่องทรงของฤดูหนาว และร่วมพิธีเททองหล่อเหรียญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย

 สำหรับประเทศไทยถ้าเอ่ยถึงพระพุทธรูปที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยทุกคนแล้ว

จะเป็นที่ทราบกันดีว่าคือพระแก้วมรกต นั้นเององค์พระแก้วมรกตจะมีสีเขียวซึ่งเป็นหินหยกอ่อนโดย ปัจจุบันพระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

          สำหรับพระราชพิธีการเปลี่ยนเครื่องทรงให้กับพระแก้วมรกตนั้น มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โดยครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเครื่องทรงถวายพระแก้วมรกตแค่เพียง 2 ชุดเท่านั้นคือ เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน และเครื่องทรงสำหรับฤดูฝน ยังไม่มีเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาว

แต่มาครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างเครื่องทรงเพิ่มอีกชุดเป็นเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาว นับตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต จึงมีเครื่องทรงตามฤดูกาลครบทั้ง 3 ฤดู

ในสมัยรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี เครื่องทรงของพระแก้วมรกตทั้ง 3 ชุดนี้เคยได้รับการซ่อมแซมมาแล้ว ทั้ง 3 ชุด

จากสำนักราชวัง  โดยสำนักราชวังจะซ่อมแซมเฉพาะส่วนทีชำรุด เนื่องจากมีการใช้งานเครื่องทรงนี้มานานต่อเนื่องตลอด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงดำริให้จัดสร้างเครื่องทรงให้กับพระแก้วมรกตขึ้นมาใหม่

เนื่องจากพบว่าเครื่องทรงมีการชำรุดมากขึ้น และไม่สามารถหาช่างที่มีฝีดีที่จะสามารถซ่อมแซมเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูให้กลมกลืนเหมือนเดิมได้ ทาง กรมธนารักษ์ สำนักพระราชวังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงมติว่าให้เก็บรักษาเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูไว้เป็นศิลปกรรมและมรดกล้ำค่า เพราะหากยังมีการใช้งานจะชำรุดเสียหายมากกว่าเดิม

ดังนั้นจึงมีการเตรียมชุดใหม่ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้กับ รัชกาลที่ 9 ในงานมหามงคลพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2539

          จากข้อมูลที่ระบุไปเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนเครื่องทรงให้กับพระแก้วมรกตมานานแล้ว และยังมีการทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน